ประวัติสโมสร ของ สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด

สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2489 ในสมัยที่ พลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์พันลึก เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้การสนับสนุนถึงขนาดที่ท่านลงมาดูแลการซ้อมและควบคุมด้วยตัวเองทำให้สโมสรทหารอากาศประสบความสำเร็จอย่างมากมาย โดยในยุคนั้นจะมีสโมสรต่างๆเช่น ทีมธนาคารรวม ทีมมุสลิม ทีมชายสด ทีมกรมมหรสพ ที่ลงเล่นอยู่ในฟุตบอล ถ้วยพระราชทานประเภท ก. แต่สโมสรก็สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานประเภท ก. มากที่สุดถึง 14 ครั้ง และในจำนวนนี้เป็นการชนะเลิศติดต่อกัน 7 สมัยซ้อน ซึ่งยังเป็นสถิติที่ไม่มีสโมสรใดทำลายได้จนถึงปัจจุบัน และรวมไปถึงการชนะเลิศฟุตบอลถ้วยพระราชทานครบ 4 ระดับเป็นสโมสรฯแรกๆในประเทศ

ในยุคต่อมาสโมสรทหารอากาศ ได้รับการสนับสนุนจาก พลอากาศเอกบุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้นซึ่งในห้วงเวลานี้เองที่สโมสรได้ผลักดันนักฟุตบอลคนสำคัญอย่าง ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน รวมไปถึงนักฟุตบอลร่วมรุ่นอย่าง ไพโรจน์ พ่วงจันทร์, ชลทิศ กรุดเที่ยง, ประทีป ปานขาว, นราศักดิ์ บุญเกลี้ยง, ชลอ หงษ์ขจร, วีระพงษ์ เพ็งลี, วิชิต เสชนะ เป็นต้น

และในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ ได้เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ และทำการปรับปรุงระบบการทำงานเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพ ตามกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมฟุตบอลแห่งเอเชียได้กำหนดไว้ถึงการเป็นนิติบุคคลอย่างสมบูรณ์เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานการแข่งขันหนึ่งเดียวกับนานาชาติ โดยได้ร่วมกับบริษัท แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด จำกัด เพื่อทำการ Re-Branding สู่ชื่อและภาพลักษณ์ใหม่ภายใต้ชื่อ สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด หรือ Air Force United Football Club ร่วมกับสโมสรสมาชิกอื่นๆอีกว่าร้อยองค์กรสำหรับการแข่งขันฟุตบอล

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. พ.ศ. 2562 ทางสโมสรแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ได้แจ้งว่ามีการขายสิทธิ์การทำทีมให้กับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.อุทัยธานี สังกัดพรรคภูมิใจไทย และเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น อุทัยธานี เอฟซี เป็นที่เรียบร้อย ถือเป็นการปิดฉาก 73 ปีของตำนานทีมบอล[1] อย่างไรก็ตามยังคงมีทีมที่บริหารงานโดยกองทัพอากาศอยู่เองอีก 3 สโมสร ประกอบด้วย 1.ทหารอากาศ เอฟซี (ไทยลีก 4) 2.สวัสดิการ ทอ. และ 3.โรงเรียนนายเรืออากาศ โดยใช้บุคลากรของกองทัพอากาศ

  • ประวัติสัญลักษณ์ของสโมสร
  • สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ (2489-2553)
  • สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด (2554, 2562)
  • สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เอวีเอ เอฟซี (2555)
  • สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี (2556-2561)

ใกล้เคียง